การอ่านหนังสือช่วยฉลาดได้จริงหรือ


หลายคนมีคำถามที่เกิดขึ้นเมื่อถูกบังคับหรือได้ยินคำพูดที่ว่า การอ่านหนังสือจะทำให้ฉลาดขึ้น ซึ่งหลายคนคิดว่าตนเองก็อ่านหนังสือมามากมาย แต่ทำไมไม่ฉลาดจนเรียนเป็นดอกเตอร์ได้ แล้วแบบนี้การอ่านหนังสือจะทำให้ฉลาดจริงหรือจึงเป็นคำถามที่คาใจของใครหลายคน วันนี้เรามีคำตอบที่จะช่วยไขข้อข้องใจให้กับผู้ที่มีคำถามนี้อยู่ในใจ             ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้บอกว่าการอ่านหนังสือจะทำให้ผู้ที่อ่านหรือผู้ที่ได้รับฟังฉลาดขึ้น แต่ว่าการอ่านหรือฟังหนังสือจะทำให้สมองมีการพัฒนามากขึ้น ซึ่งจะฉลาดหรือไม่ฉลาดนั้นยังมีหลายองค์ประกอบรวมอยู่ด้วยกัน แต่การอ่านหนังสือทำให้เส้นใยประสาทที่อยู่ในสมองเกิดมากขึ้น ซึ่งเส้นใยประสาทนี้มีหน้าที่ส่งข้อมูลและประมวลผลที่เกิดขึ้นภายในสมองทำงานได้อย่างทรงประสิทธิภาพมากขึ้น จึงทำให้มีการเรียนรู้และจดจำได้ดีขึ้น ซึ่งความรู้ความสามารถของคนเราแต่ละคนนั้นต่างกัน บางคนเก่งทางด้านกีฬา บางคนเก่งทางด้านศิลปะ บางคนเก่งทางด้านวิชาการ ดังนั้นเมื่อสมองทำงานได้ดี ทักษะที่ตนเองมีอยู่ก็จะโดดเด่นขึ้นมานั้นเอง             นอกจากนั้นในการอ่านหนังสือผู้อ่านจะต้องเรียบเรียง ทำความเข้าใจและจิตนาการตามเนื้อหาที่ได้อ่าน เพื่อให้ตนเองมีความเข้าใจและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้ ซึ่งทักษะเหล่านี้ล้วนเป็นทักษะที่ช่วยให้สมองมีการทำงานอย่างต่อเนื่องและเป็นสมาธิ ซึ่งการอ่านหนังสือที่เป็นประโยชน์นั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นหนังสือวิชาการหรือหนังสือที่ให้ความรู้เท่านั้น แต่หนังสือนิยายหรือนิทานก็ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองได้ โดยสังเกตได้จากในระหว่างที่ทำการอ่านนิยายหรือนิทานที่ไม่มีรูปภาพประกอบ ช่วงเวลาที่ทำการอ่านจะมีการวาดภาพในสมองตามเนื้อหาที่ทำการอ่าน มีการสร้างภาพตัวละครแต่ตัวขึ้นมาตามจินตนาการของตัวผู้อ่านเอง ซึ่งบางครั้งตั้งใจว่าจะอ่านช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ด้วยความเพลินของเนื้อหาและภาพที่วาดอยู่ในหัว กลับพบว่าใช้เวลาในการอ่านนับชั่วโมงโดยที่ไม่รู้ตัว นั่นแสดงว่าการอ่านทำให้มีสมาธิ ซึ่งทำให้สมองมีการจัดระบบการทำงานที่เป็นระเบียบมากขึ้น             จะเห็นว่าการอ่านหนังสือไม่ได้ทำให้ตัวผู้อ่านฉลาดตามหลักทางวิชาการ แต่ว่าการอ่านหนังสือทำให้สมองมีการพัฒนา พร้อมที่จะเรียนรู้ มีการสร้างสมาธิและจินตนาการในสมองได้มากขึ้น ทำให้เรียนรู้และจดจำสิ่งที่เรียนได้มากขึ้น นอกจากนั้นการอ่านยังเป็นการเพิ่มเติมความรู้ให้กว้างไกล เพราะหนังสือถือแหล่งความรู้ที่ไม่มีวันหมด อ่านกี่ครั้งก็ช่วยเพิ่มความรู้ได้ทุกครั้ง

ข้อควรระวังในการอ่าน E-Book


การใช้ทำงานหรือทำกิจกรรมที่ต้องเพ็งมองหน้าจอเป็นเวลานานจะทำให้ดงตาเกิดความเมื่อยล้า หากมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องติดต่อกันไปเรื่อย ๆ เป็นเวลานานแสงที่ออกมาจากหน้าจอดังกล่าวจะส่งผลทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับจอประสาทตา เช่น จอประสาทตาเสื่อม ดวงตาล้า กระจกตาโดยทำลาย ซึ่งหากมีอาการหนักอาจจะทำให้ตาบอดได้ ซึ่งกิจกรรมที่มักจะทำให้ต้องเพ็งหน้าจอเป็นเวลาก็คือ การอ่าน E-Book ถึงแม้ว่าการอ่านจะช่วยพัฒนาสมอง เสริมสร้างความทรงจำและกระตุ้นการเรียนรู้ แต่หากอ่านอย่างไม่ระวังย่อมจะสร้างผลเสียมากกว่าผลดีให้กับชีวิต ดังนั้นในการอ่านE-Book มีข้อควรระวังดังนี้ 1.อ่านในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม             การอ่าน E-Book ต้องอ่านให้พื้นที่ที่เหมาะสมกับการอ่าน คือ การตั้งหน้าจอควรมีระยะห่างระหว่างดวงตากับหน้าจออยู่ที่ประมาณ 25 นิ้ว ความสว่างของหน้าจอจะต้องมีความพอดี พื้นที่ต้องมีแสงสว่างโดยรอบเพียงพอ ไม่อ่านในที่มือหรือที่แสงสว่างน้อย เพราะดวงตาจะต้องจดจ้องที่หน้าจอมากเกินไป และขนาดของตัวอักษรที่แสดงบนหน้าจอควรมีขนาดที่ไม่เล็กจนเกิดไป เพราะยิ่งตัวอักษรมีขนาดเล็ก ในขณะที่ทำการอ่านดวงตาจะต้องทำการจดจ้องมากเป็นพิเศษทำให้ดวงตาเกิดความเมื่อยล้าได้เร็วขึ้น 2.ติดฟิล์มกรองแสง             หากไม่ได้ใส่แว่นที่มีคุณสมบัติในการช่วยป้องกันแสงจากหน้าจอในระหว่างที่อ่านแล้ว สามารถทำการลดปริมาณแสงให้เข้าสู่ดวงตาให้น้อยลงได้ด้วยการติดฟิล์มกรองแสงที่บริเวณหน้าจอแสดงผล ซึ่งฟิล์มกรองแสงต้องเป็นฟิล์มที่สามารถกรองแสง UV400/UVA1 ซึ่งเป็นแสงที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อดวงตามากที่สุด ซึ่งฟิล์มดังกล่าวจะสามารถลดปริมาณแสงที่หน้าจอส่งมายังดวงตาให้น้อยลง ทำให้ดวงถูกทำลายช้าลง 3.พักสายตา การอ่านหนังสือมักต้องใช้เวลาในการอ่านที่นานเป็นชั่วโมงกว่าหนังสือหนึ่งเล่มจะจบลง ดังนั้นในระหว่างที่ทำการอ่านหนังสือ ควรมีการพักสายตาทุก 20 นาที เนื่องจากในระหว่างที่ทำการจ้องหน้าจอเพื่ออ่านหนังสือจะมีการกระพริบตาน้อยมาก ทำให้กระจกตาแห้ง ด้วยการหันสายตาไปมองรอบ ๆ ตัวและกระพริบตาถี่ ๆ เพื่อกระตุ้นให้น้ำหล่อเลี้ยงดวงตาไหลออกมาเคลือบกระจกตา […]